ชลธีฟาร์ม
ตลาดสินค้าการเกษตรที่เรารวบรวมสินค้าจากแหล่งผลิตโดยตรง สินค้ามีคุณภาพสูงในราคาที่ถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป พืชผลทางการเกษตร ผลไม้ ผัก เนื้อสัตว์ และผลิตภัณฑ์ในการทำการเกษตรและปศุสัตว์ เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยคอก และอาหารสัตว์ประเภทต่างๆ
โทร. 083-622-5555

ผัก-ผลไม้สด

เนื้อสัตว์ เนื้อปลา

ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี

อาหารสัตว์ต่างๆ
ชลธีฟาร์ม ศูนย์รวมสินค้าทางการเกษตรออนไลน์แบบใหม่ ไม่ต้องไปตลาด ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง สินค้ามีคุณภาพสูงในราคาที่คุณประทับใจ ผลิตผลจากเกษตรกรตัวจริง
ผัก-ผลไม้สด | เนื้อสัตว์ | ปุ๋ย | อาหารสัตว์ | ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่างๆ
จำหน่ายทั้งปลีกและส่ง
TEL : 083-622-5555
LINE : @chonlateefarm
ชลธีฟาร์ม
ศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรยุคใหม่ จากเกษตรตัวจริงสินค้าคุณภาพในราคาไม่ผ่านพ่อค้าคนกลาง ลดความเสี่ยงด้วยบริการออนไลน์
ผัก-ผลไม้สด | เนื้อสัตว์ | ปุ๋ย | อาหารสัตว์ | ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรต่างๆ
TEL : 083-622-5555
LINE : @chonlateefarm
สั่งสินค้ากับเรา

เขตสัมพันธวงศ์ เป็นหนึ่งในห้าสิบเขตของกรุงเทพมหานคร สภาพพื้นที่ประกอบไปด้วยแหล่งการค้าหนาแน่นและแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรม
ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย มีถนนเจริญกรุงและถนนพระรามที่ 4 เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางรัก มีคลองผดุงกรุงเกษม เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตคลองสาน มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตพระนคร มีคลองรอบกรุง (คลองโอ่งอ่าง) เป็นเส้นแบ่งเขต
ประวัติศาสตร์
เขตนี้เป็นสถานที่ที่มีชาวจีนอาศัยอยู่มาตั้งแต่ตอนแรกเริ่มกรุงรัตนโกสินทร์แล้ว พวกเขาได้ย้ายมาจากเขตพระนครในปัจจุบัน โดยมีถนนวานิช 1 หรือ "ถนนสำเพ็ง" เป็นศูนย์กลางของชุมชนชาวจีน จวบจนสร้างถนนเยาวราชในสมัยรัชกาลที่ 5 เมื่อปี พ.ศ. 2435 ได้กลายมาเป็นศูนย์กลางชาวจีนจนถึงปัจจุบัน
อำเภอสัมพันธวงศ์ สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 ตั้งอยู่ที่สามแยกถนนทรงวาดตัดกับถนนปทุมคงคา ตำบลศาลเจ้าแม่ทับทิม ซึ่งอยู่ในเขตวัดสัมพันธวงศาราม จึงสันนิษฐานได้ว่าอำเภอสัมพันธวงศ์คงตั้งชื่อตามวัดที่ตั้งนั่นเอง (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายไปตั้งที่ถนนโยธา แขวงตลาดน้อย) โดยแบ่งการปกครองออกเป็น 14 ตำบล
ต่อมาได้มีการยุบรวม "อำเภอสามแยก" ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ที่ตึกแถวสี่แยกถนนทรงวาดกับถนนเยาวราช มีเขตปกครอง 6 ตำบล และ "อำเภอจักรวรรดิ" ซึ่งตั้งที่ว่าการอำเภออยู่ข้างสถานีตำรวจนครบาลจักรวรรดิ มีเขตปกครอง 18 ตำบล มาขึ้นกับอำเภอสัมพันธวงศ์ แล้วแบ่งเขตปกครองใหม่ออกเป็น 3 ตำบล คือ ตำบลสัมพันธวงศ์ ตำบลจักรวรรดิ และตำบลตลาดน้อย
ต่อมาในปี พ.ศ. 2515 มีประกาศคณะปฏิวัติจัดการบริหารราชการใหม่ในเขตนครหลวง อำเภอสัมพันธวงศ์ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร แบ่งเขตปกครองย่อยออกเป็น 3 แขวง